เมนู

อริยันติกถา


[720] สกวาที กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริง
ในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะ หรือ ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. เป็นมรรค เป็นมงคล เป็นนิพพาน เป็นโส-
ดาปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล เป็นสกทาคามิมรรค เป็นสกทาคามิ-
ผล เป็นอนาคามิมรรค เป็นอนาคามิผล เป็นอรหัตมรรค เป็นอร-
หัตผล เป็นสติปัฏฐาน เป็นสัมมัปปธาน เป็นอิทธิบาท เป็นอินทรีย์
เป็นพละ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[721] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. มีสุญญตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ
อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งสุญญตะด้วย หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ
อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งสุญญตะด้วย
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง แห่งจิต
2 ดวง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ หรือ ฯลฯ มีอัปปณิ-
หิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ
อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอัปปณิหิตะ
ด้วย หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งฐานะและ
อฐานะด้วย ทรงทำไว้ในพระทัยซึ่งอัปปณิหิตะ
ด้วย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง แห่งจิต
2 ดวง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[722] ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีอัปปณิหิตะ เป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[723] ส. สัมมัปปธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพช-
ฌงค์ เป็นอริยะ มีสุญญตะอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. โพชฌงค์เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์
ฯ ล ฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์
หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[724] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มี
สุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่ามีสุญญ-
ตะเป็นอารมณ์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สติปัฏฐานเป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปป-
ณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ
มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัมมัปปธาน ฯ ล ฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ แต่
ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[725] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นมรรค เป็นผล เป็นนิพพาน เป็นโสดา-
ปัตติมรรค เป็นโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นโพชฌงค์ หรือ ?

ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[726] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ-
บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย
ซึ่งสุญญตะด้วย หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ-
บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย
ซึ่งสุญญตะด้วย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง แห่งจิต
2 ดวง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ-
บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย
ซึ่งอัปปณิหิตะด้วย หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระตถาคตทรงทำไว้ในพระทัย ซึ่งจุติและอุ-
บัติแห่งสัตว์ทั้งหลายด้วย ทรงทำไว้ในพระทัย
ซึ่งอัปปณิหิตะด้วย หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความประชุมแห่งผัสสะ 2 อย่าง แห่งจิต
2 ดวง หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[727] ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์
ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิ-
หิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอัปป-
ณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ส. สัมมัปปธาน ฯลฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ มี
สุญญตะอารมณ์ ฯ ล ฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอัปป-
ณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[728] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯ ล ฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ หรือ ?

ป. ถูกแล้ว.
ส. สติปัฏฐาน เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มี
อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[729] ส. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์
หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สัมมัปปธาน ฯ ล ฯ โพชฌงค์ เป็นอริยะ แต่
ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[730] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[731] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?

ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[732] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า เป็นอริยะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย แต่ไม่พึงกล่าวว่า
เป็นอริยะ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[733] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวว่า เป็น
อริยะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็ไม่พึงกล่าวว่า เป็น
อริยะ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[734] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีสุญญตะ
เป็นอารมณ์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะก็เป็นอริยะ มีสุญญตะเป็นอารมณ์
หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[734] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี
อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะก็เป็นอริยะ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์
หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[735] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ มีสุญญตะอารมณ์ ฯลฯ มีอนิ-
มิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.

ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ มี
อัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
[736] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐานะ เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า สุญญตะเป็น
อารมณ์ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในฐานะ
และอฐาน เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ
มีอัปปณิหิตะเป็นอารมณ์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะ
เป็นอารมณ์ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ

[737] ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในจุติ
และอุบัติแห่งสัตว์ทั้งหลาย เป็นอริยะ แต่ไม่พึงกล่าวว่า มีสุญญตะ
เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอนิมิตตะเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีอัปปณิหิตะเป็น
อารมณ์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. กำลังของพระตถาคต คือ การรู้ตามจริงในความ
สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็เป็นอริยะ แต่พึงกล่าวว่า มีอัปปณิหิตะ
เป็นอารมณ์ หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ล ฯ
อริยันติกถา จบ

อรรถกถาอริยันติกถา


ว่าด้วยเป็นอริยะ


บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องเป็นอริยะ. ในปัญหานั้น ลัทธิแห่งชนเหล่า
ใด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายในขณะนี้ว่า อาสวักขยญาณเป็น
อริยะอย่างเดียวเท่านั้น หามิได้โดยที่แท้แม้ญาณเบื้องต้น1 9 อย่าง ที่
เป็นกำลัง ก็เป็นอริยะด้วย ดังนี้ สกวาทีหมายชนเหล่านั้น จึงถามว่า
การรู้ตามจริงในฐานะและอฐานะ เป็นอริยะหรือ คำตอบรับ-
รองเป็นของปรวาที. คำถามด้วยสามารถแห่งมรรคเป็นต้นว่า ญาณ
นี้ใดในอริยมรรค เป็นต้น ญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นพึงเป็น
อริยะหรือ
อีก เป็นของสกวาที คำตอบปฏิเสธเป็นของปรวาที. คำ
ถามว่าด้วย สุญญตารมณ์ เป็นต้นอีก เป็นของสกวาที. ในคำถามนั้น
สุญญตา 2 อย่าง คือ สัตตสุญญตา ความว่างเปล่าจากสัตว์ 1 สัง-
ขารสุญญตา
ความว่างเปล่าจากสังขาร 1. ปัญจขันธ์ เป็นสภาพว่าง
1. ทสพลญาณ ญาณอันเป็นกำลัง 10 คือ :- 1. ฐานาฐานญาณ ปรีชา
หยั่งรู้ฐานะ และอฐานะ 2. วิปากญาณ ปรีชาหยั่งรู้ผลแห่งกรรม 3. สัพ-
พัตถคามินีปฏิปทาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ทางไปสู่ภูมิทั้งปวง 4. นานาธาตุญาณ ปรีชา
หยั่งรู้ธาตุต่าง ๆ 5. นานาธิมุตติญาณ ปรีชาหยั่งรู้อธิมุตติ คือ อัธยาศัยของ
สัตว์ต่าง ๆ 6. อินทริโยปริยัตติญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์
ของสัตว์ 7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชาหยั่งรู้อาการมีความเศร้าหมองเป็นต้น
แห่งธรรมมีฌานเป็นต้น 8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ 9. จุตูปปาตญาณ
10. อาสวักขยญาณ.